Set Default Page Add to Favorites Send This Page to Friend TaneDesign.com
 
เกร็ดความรู้
 
บทความต่างๆเกี่ยวกับเครื่องมือวัด/ทดสอบ
 

เครื่องวัดความแข็งของยาง

ความล้าของโพลิเมอร์
การทดสอบแรงดัดงอ
การสอบเทียบเวอร์เนียร์ คาลิปเปอร์
การทดสอบการดัดโค้ง
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องทดสอบ
ความแข็งที่มีหัวกดขนาดเล็ก
 




 

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องทดสอบความแข็งที่มีหัวกดขนาดเล็ก

micro_hardness1

 

         ในฉบับนี้ผู้เขียนจะแนะนำวิธีการและการรายงานการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องทดสอบความแข็งให้เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM เป็นตอนสุดท้าย โดยในตอนนี้จะกล่าวถึงเครื่องทดสอบความแข็งที่มีหัวกดขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า Microindentation โดยเฉพาะเครื่องทดสอบแบบ Knoop และแบบ Vickers อย่างที่กล่าวในตอนเดิมๆ ว่า การตรวจสอบหรือการทวนสอบเครื่องวัดความแข็งนั้นจะต้องทำการทวนสอบทั้งทางตรง ทางอ้อม และทำการตรวจสอบคุณภาพของบล็อกทดสอบมาตรฐาน สำหรับเครื่องทดสอบความแข็งที่มีหัวกดขนาดเล็กนั้นจะทำการทวนสอบสิ่งใดบ้าง ต้องติดตามกันต่อไป


การทวนสอบทางอ้อม
          ใบรายงานการทวนสอบทางอ้อมของเครื่องทดสอบความแข็งที่มีหัวกดขนาดเล็กทั้งแบบ Knoop และ Vickers นั้นจะต้องแสดงค่าความแข็งสำหรับห้องปฏิบัติการที่มีบล็อกทดสอบมาตรฐาน นอกจากนี้ยังต้องแสดงค่าความไม่แน่นอนที่ดีที่สุดของค่า repeatability และ error รวมถึงต้องทำการอ้างอิงว่าวิธีที่ใช้ในการทวนสอบนั้นเป็นไปตามมาตรฐาน ASTM E384 โดยค่าต่างๆ จะแสดงในเทอมของค่าความยาวหรือส่วนกลับของความยาว


ตารางที่ 1: ตัวอย่างใบรายงานการทวนสอบทางอ้อมของเครื่องทดสอบความแข็งที่มีหัวกดขนาดเล็ก

เครื่องมือ

 

พารามิเตอร์และช่วงสเกล

ค่าความไม่แน่นอนที่ดีที่สุด

หมายเหตุ

การทวนสอบทางอ้อมของเครื่องทดสอบความแข็ง
ที่มีหัวกดขนาดเล็ก ( Knoop และ Vickers )

ค่า Repeatability ภายใต้แรงกด P (กิโลกรัม) :

1 more than  < 500
100 more than HK more than 250
100 more than HV more than 240

250 < HK more than 650
240 < HV more than 600

HK > 650
HV > 600

500 more than   more than   1000
100 more than HK more than 250
100 more than HV more than 240

250 < HK more than 650
240 < HV more than 600

HK > 650
HV > 600

ค่า error


 




minus 1.5%

minus 1.2%


minus 1%


minus 1.2%


minus 1%


minus 0.75%


minus 0.5% หรือ 0.12 ไมครอน (5 ไมโครนิ้ว)

เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM E384

 

การทวนสอบทางตรง
            อย่างที่เคยกล่าวไปแล้วว่าการทวนสอบทางตรงคือการสอบเทียบอุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้น ในใบรายงานจะต้องแสดงค่าต่างๆ ดังต่อไปนี้
            1. การทวนสอบหัวกด : การทวนสอบจะแบ่งเป็นหัวกดแบบ Vicker และแบบ Knoop โดยหัวกดแบบ Vicker นั้นจะต้องทำการทวนสอบมุมระหว่างด้านต่างๆ ของหัวกด ( face angle ) ค่า offset และค่าความเอียงแต่ละด้านของหัวกดที่ทำกับแกนของหัวกด สำหรับหัวกดแบบ Knoop นั้นต้องทำการทวนสอบความคงที่ของหัวกด มุมของหัวกดตามความยาว และตามขวาง ค่า offset ค่าความเอียงแต่ละด้านของหัวกดที่ทำกับแกนของหัวกด
            2. การทวนสอบแรงกด : ห้องปฏิบัติการจะต้องทำการทวนสอบช่วงของแรงกดที่ใช้ร่วมกับค่าความไม่แน่นอนที่ดีที่สุด และในหมายเหตุจะต้องบอกว่าเป็นไปตามมาตรฐาน E4 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการทวนสอบและวิธีการที่ใช้ทวนสอบแรงกดของเครื่องมือ
            3. การทวนสอบกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ตรวจวัด : สำหรับกรณีนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องบ่งบอกถึงช่วงสเกลที่ใช้ในการทวนสอบกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ตรวจวัด แต่จะต้องแสดงค่าความไม่แน่นอนที่ดีที่สุด รวมถึงในหมายเหตุที่จะต้องชี้แจงถึงวิธีการที่ใช้ในการทวนสอบ

 

micro_hardness2

 

ตารางที่ 2:  ตัวอย่างใบรายงานการทวนสอบทางตรงของเครื่องทดสอบความแข็งที่มีหัวกดขนาดเล็ก

พารามิเตอร์/เครื่องมือ

 

ช่วงสเกล

ค่าความไม่แน่นอนที่ดีที่สุด

หมายเหตุ

การทวนสอบทางตรงสำหรับเครื่องทดสอบความแข็งแบบ Vickers และแบบ Knoop: 0

การทวนสอบแรงกด

การทวนสอบคุณสมบัติต่างๆ ของหัวกด :
Vickers
       Face angles
       Offset
       ความเอียงของด้านต่างๆ

Knoop
     Included longitudinal edge angle, D_tip15  A
     Included transverse edge angle, D_tip15 B

       ค่าคงที่ของหัวกด,  c  p
       Offset
       ความเอียงด้านต่างๆ
การทวนสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัด ความยาวเส้นทแยงมุมของรอยกด




1-1000 กรัม




minus 0.25%



minus 7 นิ้ว
minus 0.125 ไมครอน
minus7 นิ้ว


minus 0.1 องศา
minus 0.1 องศา

minus 0.00018
minus 0.25 ไมครอน
minus 7 นิ้ว
minus 0.12 %

เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM E92

ทำการทวนสอบแรงกดด้วย load cell ตาม ASTM E4 ทำการทวนสอบค่าต่างๆ เหล่านี้ด้วยวิธีการ optical projection

มาตรฐานของบล็อกทดสอบ
        สิ่งที่ต้องทำการทวนสอบบล็อกทดสอบมาตรฐานนั้นจะเป็นไปตาม E384 ในใบรายงานจะต้องแสดงวิธีการที่ใช้ร่วมกับค่าความไม่แน่นอนที่ดีที่สุด โดยไม่จำเป็นที่จะต้องระบุช่วงสเกลที่ใช้ ซึ่งค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ได้แก่ flatness, parallelism และ surface roughness

 

ตารางที่ 3: ตัวอย่างใบรายงานการสอบเทียบบล็อกทดสอบมาตรฐานสำหรับการทดสอบความแข็งที่มีหัวกดขนาดเล็ก

พารามิเตอร์/เครื่องมือ

 

สเกลและช่วงสเกล

ค่าความไม่แน่นอนที่ดีที่สุด

หมายเหตุ

การสอบเทียบมาตรฐานบล็อกทดสอบสำหรับการทดสอบ ความแข็งที่มีหัวกดขนาดเล็ก :
ค่า surface roughness (Ra) เฉลี่ย

ค่า flatness

ค่า parallelism

ค่า repeatability

 




minus 1 ไมโครนิ้ว

minus 1.2 ไมครอน

minus 2.5 ไมครอน (ใน 50 มิลลิเมตร)

minus 0.5 %

ASTM E92

 

ที่มา : คัดลอกมาจาก นิตยาสาร LAB.TODAY
เรียบเรียงโดย พรรณทิพย์ ห่อศรีสัมพันธ์
เอกสารอ้างอิง

1. http://www.indentec.com/reference.html
2. http://www3.tky.3web.ne.jp/~kb01/E/whatis.html
3. http://www.hardnesstesters.com
4. http://www.calce.umd.edu/general/Facilities/Hardness_ad_.htm
5. ดร. จินตมัย สุวรรณประทีป. การทดสอบความแข็ง บางสิ่งที่อาจมองข้าม. LAB.TODAY. ปีที่ 1. ฉบับที่ 5. กรกฎาคม-สิงหาคม 2545. 57.
6. http://en.wikipedia.org/wiki/Haedness
7. Unknown, Mandatory Guidance for Calibration Scopes of Accreditation for Hardness Measurements, A2LA, 12/08/03 . http://www.a2fa.org/guidance/Scope_Hardness.pdf.
8. Trevor Sidaway, Hardness Testing - An Integral Part of Quality Control, Materials World, Vol. 12 no. 11 pp. 583-84, November 1994. http://www.amazon.com/details.asp?ArticleID=531

 

 

 
 
Copyright © 2009 All Rights Reserved.
Visitors : 1105
Tane Design